การติดต่อค้าขาย การศึกษา การรับวิทยาการสมัยใหม่เเละการรับวัฒนธรรมจากกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเเม่ ตลอดจนผลพวงจากลัทธิจักรวรรดินิยม ส่งผลให้มีคำยืมภาษาอังกฤษใช้ในภาษาไทยมากมาย โดยเฉพาะในภาษาพูด มีหลักฐานว่าการ ยืมคำภาษาอังกฤษเริ่มเป็นที่นิยมเเพร่หลายนับตั้งเเต่รัชสมัยพระบาทสมเด็กพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา
ข้อสังเกตุคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย
1. เป็นคำหลายพยางค์
เช่น โฟกัส (Focus) เทรนเนอร์ (Trainer) อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) คอมพิวเตอร์ (Computer)
2. ไม่เปลี่ยนรูปไวยากรณ์
เช่น คอร์รัปชัน (Corruption) ภาษาอังกฤษเป็นคำนาม เมื่อยืมมาใช้ในภาษาไทยใช้เป็นคำกริยา
ชอปปิง (Shopping) ภาษาอังกฤษเป็นคำนาม เมื่อยืมมาใช้ในภาษาไทยใช้เป็นคำกริยา
3. มีรูปเขียนไม่ตรงกับการออกเสียง
เช่น นอต (Knot) ออกเสียงว่า น็อต
พลาสติก (Plastic) ออกเสียงว่า พล้าด-สะ-ติก
4. มักมีตัวการันต์อยู่กลางคำ
เช่น คอร์ส ฟิล์ม ชอล์ก ฟาร์ม
5. ตัดคำให้สั้นลง เมื่อใช้ระดับภาษาไม่เป็นทางการ
เช่น ฟุตบอล ใช้ว่า บอล
กิโลกรัม ใช้ว่า กิโล
บลูยีนส์ ใช้ว่า ยีนส์
วงศัพท์คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย
1. ชื่ออาชีพเเละศัพท์เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
เช่น โปรเเกรมเมอร์ ไลน์เเมน อาร์ตเวิร์ก
2. ศัพท์เกี่ยวกับวิทยาการเเละการติดต่อสื่อสารคมนาคม
เช่น เทคโนโลยี นาโน เซลล์ อะตอม
3. ชื่ออาหาร
เช่น ไอศกรีม สเต๊ก เค้ก บาร์บีคิว ฟาสต์ฟู้ด
4. ชื่อข้าวของเครื่องใช้ เครื่องเเต่งกาย
เช่น เเบตเตอรี่ เชิ้ต ไวโอลิน เปียโน ซิป ปลั๊ก คอมพิวเตอร์
5. ชื่อประเพณีวัฒนธรรม กีฬา การละเล่น การเเสดงศิลปกรรม
เช่น ฟุตบอล เเบตมินตัน วอลเลย์บอล เทนนิส
6. ชื่อสถานที่
เช่น คอนโดมิเนียม คลินิก ผับ บาร์
7. ชื่อพืช สัตว์ ธาตุ ชื่อสีบางสี
เช่น อาร์ติโชก สตรอว์เบอร์รี เชอร์รี ออกซิเจน
8. ชื่อโรคเเละศัพท์เกี่ยวกับการเเพทย์
เช่น มาลาเรีย เอดส์ เกาต์ เเบคทีเรีย ไวรัส
9. คำที่คนไทยนำคำจากภาษาอังกฤษมาสร้างใหม่
เช่น โกอินเตอร์ โซตัส
10. สำนวนเเละคำที่มีความหมายโดยนัย
เช่น ดรามา ไฮเพอร์ อิน
11. คำเฉพาะสมัย ทั้งคำเก่า
เช่น น้ำมะเน็ด (Lemonade) ตะเเล็บเเก็บ (Telegraph)
เเละคำพูดในปัจจุบัน เช่น คูล อาหารคลีน มือโปร บิ๊ก เซเลบ ฮอต นิวไอเทม เน็ตไอดอล นิวนอร์มัล (New normal) โควิด-19 (Coronavirus disease starting in 2019)